ชุดการสอน เป็นสื่อการสอนที่เป็นชุดของสื่อประสม (Multi-media) ที่จัดขึ้นสำหรับหน่วยการเรียนตามหัวข้อเนื้อหา และประสบการณ์ของแต่ละหน่วยที่ต้องการจะให้ผู้เรียนได้รับ โดยจัดไว้เป็นชุด ๆ บรรจุในซอง กล่อง หรือกระเป๋า แล้วแต่ผู้สร้างจะทำขึ้น ในการสร้างชุดการสอนนี้จะใช้วิธีระบบเป็นหลักสำคัญด้วยจึงทำให้มั่นใจได้ว่า ชุดการสอนจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยให้ผู้สอน เกิดความมั่นใจพร้อมที่จะสอนอีกด้วย แนวคิดและหลักการของชุดการสอน การประยุกต์ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคลความพยายามที่จะเปลี่ยนแนวการเรียนการสอน จากการยึดครูเป็นหลักมาเป็นจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเรียนเอง เปลี่ยนจากการใช้สื่อเพื่อช่วยครูสอน มาเป็นใช้สื่อการสอนเพื่อช่วยผู้เรียนเรียนยึดทฤษฎีกระบวนการกลุ่ม มาใช้ในการจัดระบบการผลิตสื่อในรูปของ ชุดการสอน ยึดหลักจิตวิทยาการเรียนมาใช้ ประเภทของชุดการเรียนการสอน 1. ชุดการสอนประกอบคำบรรยาย 2. ชุดการสอนแบบกลุ่มกิจกรรม 3. ชุดการสอนแบบรายบุคคลหรือชุดการสอนตามเอกัตภาพ องค์ประกอบของชุดการสอน 1. คู่มือครู บัตรคำสั่งหรือคำแนะนำ 2. เนื้อหาสาระและสื่อ 3. แบบประเมินผล ขั้นตอนในการผลิตชุดการสอน 1. กำหนดหมวดหมู่เนื้อหาและประสบการณ์ 2. กำหนดหน่วยการสอน 3. กำหนดหัวเรื่อง 4. กำหนดความคิดรวบยอดและหลักการ 5. กำหนดวัตถุประสงค์ 6. กำหนดกิจกรรมการเรียน 7. กำหนดแบบประเมินผล 8. เลือกและผลิตสื่อการสอน 9. หาประสิทธิภาพชุดการสอน 10.การใช้ชุดการสอน ส่วนประกอบและการเขียนคู่มือครู 1. คำนำ 2. ส่วนประกอบของชุดการสอน 3. คำชี้แจงสำหรับผู้สอน 4. สิ่งที่ผู้สอนและผู้เรียนต้องเตรียม 5. บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน 6. การจัดห้องเรียน 7. แผนการสอน 8. เนื้อหาสาระของชุดการสอน 9. แบบฝึกหัดปฏิบัติหรือกระดาษตอบคำถาม 10.แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน หลักในการเขียนแบบฝึกปฏิบัติหรือคู่มือนักเรียน 1. มีคำชี้แจงในการใช้แบบฝึกปฏิบัติ 2. มีตารางปฏิบัติงานที่ผู้เรียนจะวางแผนไว้เอง 3. ควรมีแผนการสอนโดยสังเขป 4. เตรียมเนื้อหากับกิจกรรมให้ตรงกัน โดยใช้หมายเลขหรือรหัส 5. ออกแบบให้สะดุดตาน่าอ่าน 6. เนื้อหาในแบบฝึกปฏิบัติควรให้ตรงกับเนื้อหา ประโยชน์ของชุดการสอน 1. ส่งเสริมการเรียนแบบรายบุคล 2. ช่วยขจัดปัญหาการขาดแคลนครู 3. ช่วยในการศึกษานอกระบบโรงเรียน 4. ลดภาระและสร้างความมั่นใจให้กับครู 5. เป็นประโยชน์ในการสอนแบบศูนย์การเรียน 6. ช่วยให้สามารถวัดผลได้ตามความมุ่งหมาย 7. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น 8. ช่วยให้ผู้เรียนจำนวนมากได้รับความรู้แนวเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ 9. ช่วยฝึกให้ผู้เรียนรู้จักเคารพ นับถือ ความคิดเห็นของผู้อื่น ดูรายละเอียดได้ที่.. บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543) นวัตกรรมการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:SR Printing. |