บทเรียนโปรแกรม 
(Programmed Lesson)



บทเรียนสำเร็จรูปหรือบทเรียนโปรแกรม

เทียบได้กับการสอนของครูที่ดีคนหนึ่งนั่นเอง 
เมื่อผู้เรียนนำบทเรียนสำเร็จรูปมาเรียน
เมื่อนั้นเขากำลังพบกับการสอนของครูดี ๆ เข้าแล้ว
 ครูที่มาสอนความรู้ ทักษะ และทัศนคติให้เขา
 เมื่อไรที่ไหน ก็ได้ที่เขาต้องการเรียน 

เป็นการสอนการเรียนแบบตัวต่อตัว
และสามารถปรับการสอนให้ผู้เรียนสามารถไปได้ช้าหรือเร็ว
ตามความสามารถของตนได้
บทเรียนนี้มีหลายรูปแบบ แล้วแต่จะบรรจุไว้ในสื่อการสอนอะไร
 ถ้าบรรจุในเล่มหนังสือเรียกว่า แบบเรียนสำเร็จรูปหรือแบบเรียนโปรแกรม
 ถ้าบรรจุอยู่ในเครื่องมือหรือกลไกอย่างง่าย
 เรียกว่า เครื่องสอนหรือ Teaching Machine 
บ้างก็ออกมาในรูปของสื่อโสตทัศนศึกษาบางประเภท 
เช่น สไลด์ เทป ภาพยนตร์ เป็นต้น

จิตวิทยาที่เป็นพื้นฐานของบทเรียนโปรแกรม

ทฤษฎีของธอร์นไดค์

กฎแห่งผล (Law of Effect)
กล่าวถึงการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง

กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) 
การที่ผู้เรียนได้กระทำซ้ำบ่อยครั้งจะเป็นการช่วยเสริมสร้างให้เกิดการเรียนรู้ที่มั่นคงขึ้น

กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)
 เมื่อร่างกายพร้อมที่จะกระทำแล้วถ้ามีโอกาสที่จะกระทำ ย่อมเป็นที่พึงพอใจ

ทฤษฎีของสกินเนอร์

ส่วนสำคัญที่นำมาใช้เป็นหลักของบทเรียนโปรแกรมคือ หลักการเสริมแรง
ผู้เรียนจะเกิดกำลังใจต้องการเรียนต่อ เมื่อได้รับการเสริมแรงในขั้นตอนที่เหมาะสม


ลักษณะของบทเรียนโปรแกรม

มีการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้อย่างชัดเจน เรียกว่า จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
เนื้อหาวิชาถูกแบ่งออกเป็นหน่วยย่อย ๆ เรียกว่า “กรอบ” แล้วนำมาจัดลำดับ
จัดเรียงลำดับกรอบของบทเรียนไว้ต่อเนื่องกัน จากง่ายไปหายาก
ผู้เรียนมีโอกาสตอบสนองหรือมีส่วนร่วมในการเรียน
มีการให้ข้อมูลย้อนกลับในทันที สามารถตรวจสอบคำตอบได้เองจากเฉลย
มีการเสริมแรงทุกระยะขั้นตอนที่สำคัญๆ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและต้องการเรียนต่อไป
ไม่จำกัดเวลาในการเรียน
มีการวัดผลที่แน่นอน

ชนิดของกรอบในบทเรียนโปรแกรม
จำแนกออกได้เป็น 4 ชนิด คือ

1. กรอบตั้งต้น (Set Frame) เป็นกรอบที่นำเสนอข้อมูลที่เป็นหลักการหรือทฤษฎี
2. กรอบฝึกหัด (Practice Frame) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกหัดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมา
    จากกรอบตั้งต้น
3. กรอบรองกรอบส่งท้าย (Sub-Terminal Frame) เป็นกรอบที่จะนำไปสู่กรอบส่งท้าย
    จะให้ความรู้ที่จำเป็นแก่ผู้เรียนเพื่อให้การตอบสนองในกรอบส่งท้ายได้ถูกต้อง
4. กรอบส่งท้าย (Terminal Frame) เป็นกรอบสุดท้ายของกรอบที่เรียงลำดับมาจากง่ายไปยาก
    ผู้เรียนจะต้องผ่านกรอบต้น ๆ มาก่อน การตอบสนองจากผู้เรียนมากกว่าสิ่งเร้า
    ซึ่งตรงข้ามกับกรอบต้น ๆ


 ชนิดของบทเรียนโปรแกรม

1. บทเรียนโปรแกรมแบบเชิงเส้นหรือเส้นตรง (Linear Program)
   จัดเรียงลำดับเนื้อหาจาก กรอบที่ 1 กรอบที่ 2 ไปจนครบ
    ผู้เรียนจะต้องเรียนเรียงลำดับทีละกรอบต่อเนื่องกันไป

2. บทเรียนโปรแกรมสาขา (Branching Program) 
    จัดเนื้อหาไว้เป็นกรอบเช่นเดียวกับแบบเชิงเส้น แต่จะมีกรอบย่อย ๆ
    แตกออกจากกรอบหลักเป็นกรอบสาขา ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเรียนทุกกรอบ

หลักการสร้างบทเรียนโปรแกรม

แบ่งเป็นขั้นตอนใหญ่ ๆ 3 ขั้นตอน คือ
1.การนำเข้าสู่บทเรียน
2.การดำเนินเรื่องหรือการสอน
3.การสรุปและประเมินผล

วิธีการสร้างบทเรียนโปรแกรม
มีขั้นตอนที่สำคัญ 3 ขั้นตอน คือ

1. ขั้นการวางแผน
2. ขั้นดำเนินการ
3. ขั้นการนำไปใช้

ขั้นการวางแผน
ผู้สร้างควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

เนื้อหาวิชาควรเป็นเรื่องที่คงตัวหรือเป็นหลักในการสอนตลอดไป
ควรเป็นเนื้อหาวิชาที่ยังไม่มีใครนำมาทำเป็นบทเรียนโปรแกรมมาก่อน
สามารถสร้างเสร็จได้ภายในเวลาที่กำหนด
ผลที่ได้คุ้มกับการลงทุน พิจารณาถึงผลการเรียนและจำนวนนักเรียนที่จะใช้
ช่วยลดภาระของครูในการสอน และลดเวลาในการฝึกของนักเรียน
สร้างแล้วสามารถจะวัดผลได้ตามความต้องการ

ขั้นดำเนินการ

ศึกษาหลักสูตร รวมทั้งประมวลการสอน
กำหนดจุดมุ่งหมายในการสร้าง โดยอาศัยข้อมูลจากหลักสูตรและความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก
วิเคราะห์เนื้อหา นำเอาเนื้อหาทั้งหมดมาแตกเป็นหัวข้อย่อย ๆ แล้วเรียงลำดับจากง่ายไปยาก
สร้างแบบทดสอบ จะต้องให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งเอาไว้ อาจนำไปใช้ทั้งก่อนการเรียน (Pre-Test)
 และทดสอบหลังเรียน(Post-Test) 

ลงมือเขียน 
ต้องคำนึงถึงหลักการต่อไปนี้

เนื้อหาย่อย ๆ ในแต่ละหน่วยย่อมนำให้เกิดความรู้ในหน่วยถัดไป
เนื้อหาหรือคำอธิบายต้องดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้
ช่วยให้ผู้เรียนสัมฤทธิ์ผลในการเรียนมากที่สุด
เนื้อหาในแต่ละหน่วยควรพาดพิงถึงหน่วยเดิมด้วย

ดูรายละเอียดได้ที่..
บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543) นวัตกรรมการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:SR Printing.